ยินดีต้อนรับสู่ การจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

แบบฟอร์มเอกสารประกอบการสอน

 
                                               1. เอกสารประกอบการสอน
                                               2. ปก
                                               3. ส่วนนำ

แบบฟอร์มการเขียนงานวิจัย

วพ.1

แบบฟอร์มการเขียนงานวิจัย

ตำแหน่งทางวิชาการ: คุณค่าของการทำหน้าที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัย


ตำแหน่งทางวิชาการ: คุณค่าของการทำหน้าที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
สำราญ ผลดี
สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยธนบุรี

ทำไมต้องทำตำแหน่งทางวิชาการ
          หลายคนมองภาพของการทำผลงานเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการแตกต่างกัน บางคนอาจมองว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มเติมเข้ามาจากงานประจำ บางคนมองว่าไม่ใช่หน้าที่ หรือแม่แต่บางคนอาจมองว่าไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร
          ความจริงแล้วตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ใช่เรื่องของความอยากหรือความสนใจของแต่ละบุคคล หากแต่มันเป็น “หน้าที่” และเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตวิญญาณของการเป็นครูที่มีอยู่ในตัวตน  จิตวิญญาณของความพยายามในการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนางานและที่สำคัญคือการพัฒนาตามหน้าที่ของการเป็น “ครู” เพราะคำว่า “ครู” ก็ดูจะมีคุณค่ามากกว่าคนที่รับจ้างสอน
          แม้ว่าการทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์จะเป็นเรื่องของตัวบุคคล หากแต่พิจารณาให้ละเอียดแล้วจะพบว่ามันคือ “หน้าที่” ด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
          1. อาจารย์จำเป็นจะต้องพัฒนาวิทยฐานะทางวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบ “บังคับ” ให้อาจารย์พัฒนาตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตนเองและสังคม

          2. เพื่อการเป็นแบบอย่างของผู้มีความรับผิดชอบในการทำ ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการให้แก่ตนเองและสถาบัน การทำหน้าที่ “ครู” เครื่องมือสำคัญคือความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวตน ด้วยความที่สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์ความรู้ที่ไม่ได้รับการขัดเกลาและพัฒนาจะกลายเป็นความรู้ที่ล้าหลังและไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อันใดได้ และการทำหน้าที่ของการเป็นครูก็ดูจะไร้ความหมาย เพราะว่าไม่ได้ทำให้คนและสังคมนี้เจริญก้าวหน้าขึ้นแต่ออย่างใด ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาที่มีบุคลากรไม่มีการพัฒนาตนเองก็จะกลายเป็นสถาบันที่ล้าหลังก้าวไม่ทันกับโลกเช่นกัน

ความแตกต่างระหว่างหนังสือกับตำรา


ความแตกต่างระหว่างหนังสือกับตำรา
ผศ.ดร.อนุพงษ์ อินฟ้าแสง
สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

ศาสตราจารย์ ดร.สิน พันธุ์พินิจ ได้อธิบายความหมาย ที่มาของคำว่าหนังสือและตำราไว้อย่างน่าสนใจโดย Merrium-Webster (1987:167-168,1220) นิยามว่า
Book (12 C.) หมายถึง ชุดการเขียน หรือ การจารึกในแผ่นหนัง กระดาษ แผ่นกาบไม้ งาช้าง สิ่งพิมพ์ แผ่นสมุด บัญชี คัมภีร์ไบเบิล บทละคร เนื้อเพลง สิ่งพิมพ์ต่างๆที่เป็นความรู้และประสบการณ์ที่นำไปใช้แก้ปัญหาได้
Text (12 C.) หมายถึง ต้นฉบับเดิม ถ้อยคำเดิม แบบฉบับการเขียน ตำรา แบบเรียน หนังสือเรียน ถ้อยคำสั้นๆในพระคัมภีร์ไบเบิล
Textbook (ปี1779 หรือ พ.ศ.2322) หมายถึง หนังสือที่ใช้เรียนเนื้อหาสาระวิชา สาขาวิชา ตำรา แบบเรียน
ในส่วนของการขอตำแหน่งวิชาการ ก.พ.อ.ได้ให้คำนิยามตำราและหนังสือสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการไว้ว่า

ตำรา  หมายถึง ผลงานวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือ ของหลักสูตรที่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา อาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนให้มีความสมบูรณ์ที่สุด และมีเนื้อหาสาระทันสมัย ต้องจัดทำเป็นรูปเล่ม ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบาย หรือ การวิเคราะห์ การสรุปอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนีอาจเรียกว่า ตำราเรียน

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์


การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยธนบุรี
บทนำ

          การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงการศึกษาอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการที่จะนำเสนอผลงานวิชาการออกสู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขวาง และถือเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งหากบทความวิจัยของตนได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการของวารสาร แต่ทว่าก็ยังพบปัญหาในการตีพิมพ์งานวิจัยอยู่เนืองๆ เนื่องจากมาตราฐานของวารสารนั้นค้อนข้างมีขั้นตอน มีความเข้มงวดและกินเวลาตั้งแต่หลักเดือน ไปจนถึงหลักข้ามปีกันทีเดียว ดังนั้นคณาจารย์หลายๆ ท่านก็จะนำผลงานของตนเองไปยังช่องทางที่ใช้เวลาน้อยกว่า มีขั้นตอนที่สั้นกว่า นั้นก็คือ เวทีการประชุมวิชาการนั่นเอง แต่กระนั้นก็เถอะครับ ยังไงเสียการตีพิมพ์ลงในวารสารดีๆ สักเรื่องก็เป็นเกียรติประวัติให้กับตนเองอย่างนึง และหลักสูตร คณะ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาที่เราสังกัดอยู่ก็ยังได้รับค่าคะแนนที่สูงกว่าอีกด้วย แต่ต้องออกตัวก่อนนะครับ ว่าผู้เขียนก็อาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตีพิมพ์ชนิดที่เรียกได้ว่า ถ้าเขียนต้องได้ตี แต่ทว่า ผู้เขียนก็เคยถูกตองปฏิเสธบทความมาแล้ว และก็ได้รับการยอมรับบทความมาพอควร จึงอยากจะแบ่งปันปรสบการณ์ของผู้เขียนให้เพื่อนๆ พี่ น้อง ชาวคณะบริหารธุรกิจด้วยกันได้ฟังนั่นเอง

แรงบันดาลใจในการทำงานวิชาการ (Inspiration you to work?)


แรงบันดาลใจในการทำงานวิชาการ (Inspiration you to work?)
อินทิรา มีอินทร์เกิด
สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยธนบุรี

บทนำ

ในชีวิตคนทำงานย่อมต้องพบกับอุปสรรคในการทำงานเป็นเรื่องปกติ ในบางครั้งอาจทำให้เรารู้สึกท้อ หมดกำลังใจ แต่ตราบใดที่เรายังไม่ยอมแพ้ หรือถอดใจย่อมมีหนทางให้สำหรับเราเสมอ ผู้เขียนจึงรวบรวมหลายๆ แรงบันดาลใจมารวมกัน ซึ่งบันดาแรงบันดาลใจโดยปกติแล้วมีหลายอย่างมารวมกัน ซึ่งปกติแล้วจะมีทั้งความกลัวหรือความปรารถนาอย่างแรงกล้า แต่จะได้มากน้อยหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับการต่อสู้แรงบันดาลใจเป็นเรื่องที่เราสามารถบอกตัวเองในหัวว่า “ฉันคิดว่าฉันทำได้” “ฉันคิดว่าฉันยังทำได้”และ “ฉันกำลังทำมันอยู่” และจากความคิดเหล่านี้ผู้เขียนขอหยิบยกคำคมเพื่อการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานจากประธานาธิบดี 15 ท่าน จึงขอฝากให้พิจารณาเพื่อเป็นการสร้างแรงผลัก แรงดันในการสร้างแรงบันดาลใจ ลองพิจารณาดูว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง

เอกสารประกอบการสอน “ยาก หรือ ง่าย” สาขาน้องใหม่ทำได้


เอกสารประกอบการสอน “ยาก หรือ ง่าย” สาขาน้องใหม่ทำได้
อิทธิกร คำไล้ และคณะ
สาขาวิขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยธนบุรี

บทนำ

          หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว หลักสูตรใหม่ 2557 เป็นหลักสูตรน้องใหม่ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี โดยได้รับการรับทราบเห็นชอบหลักสูตร จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 การเป็นหลักสูตรใหม่นั้นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือการสร้างความน่าเชื่อและความไว้วางใจให้กับนักศึกษาที่ศึกษาในหลักสูตร นอกจากอาจารย์ประจำหลักสูตรจะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ให้ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ งานวิชาการก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษา การมีเอกสารประกอบการสอนที่เป็นรายวิชาการในหลักสูตร ถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดีถึงความพร้อมของหลักสูตรในการเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา บางคนอาจจะมองว่า “เอกสารประกอบการสอน” ทำยากเหมือนกับเขียนตำราหรือหนังสือหนึ่งเล่ม แต่แท้จริงอาจจะไม่ยากตามแบบที่ใครต่อใครคิด แท้จริงอาจจะเป็นเพียงเส้นผมบังภูเขาก็ได้ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเล็งเห็นความสำคัญต่อการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับหลักสูตร จึงได้จัดทำเอกสารประกอบการสอนขึ้นมาหนึ่งเล่มหลังจากจัดการเรียนการสอนมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีการศึกษา สามารถทำเอกสารประกอบการโดยความร่วมมือร่วมใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5 คน ในการกลั่นกรอง รวบรวม คิดวิเคราะห์ และจัดทำเอกสารประกอบการสอน วิชา 29 2201 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการโรงแรม ขึ้นมา โดยใช้ระยะเวลาในการจัดทำเพียง 4 เดือน เอกสารประกอบการสอนดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้สำหรับการสอนในปีการศึกษา 2558 เป็นปีแรก อะไรคือปัจจัยสู่ความสำเร็จในครั้งนี้ อย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า “อาจจะเป็นเพียงแค่เส้นผมบังภูเขา”


รายละเอียดเพิ่มเติม