ผศ.ดร.อนุพงษ์ อินฟ้าแสง
สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยธนบุรี
ศาสตราจารย์
ดร.สิน พันธุ์พินิจ ได้อธิบายความหมาย
ที่มาของคำว่าหนังสือและตำราไว้อย่างน่าสนใจโดย Merrium-Webster (1987:167-168,1220) นิยามว่า
Book (12 C.) หมายถึง “ชุดการเขียน
หรือ การจารึกในแผ่นหนัง กระดาษ แผ่นกาบไม้ งาช้าง สิ่งพิมพ์ แผ่นสมุด บัญชี
คัมภีร์ไบเบิล บทละคร เนื้อเพลง
สิ่งพิมพ์ต่างๆที่เป็นความรู้และประสบการณ์ที่นำไปใช้แก้ปัญหาได้”
Text (12 C.) หมายถึง “ต้นฉบับเดิม
ถ้อยคำเดิม แบบฉบับการเขียน ตำรา แบบเรียน หนังสือเรียน
ถ้อยคำสั้นๆในพระคัมภีร์ไบเบิล”
Textbook (ปี1779 หรือ พ.ศ.2322) หมายถึง “หนังสือที่ใช้เรียนเนื้อหาสาระวิชา
สาขาวิชา ตำรา แบบเรียน
ในส่วนของการขอตำแหน่งวิชาการ
ก.พ.อ.ได้ให้คำนิยามตำราและหนังสือสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการไว้ว่า
ตำรา หมายถึง “ผลงานวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือ
ของหลักสูตรที่สะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา
อาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนให้มีความสมบูรณ์ที่สุด และมีเนื้อหาสาระทันสมัย
ต้องจัดทำเป็นรูปเล่ม ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบาย หรือ
การวิเคราะห์ การสรุปอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี)
และดัชนี” อาจเรียกว่า ตำราเรียน